ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ตัวเต็ม: 春節, ตัวย่อ: 春节, พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ (ตัวเต็ม: 農曆新年, ตัวย่อ: 农历新年, พินอิน: Nónglì Xīnnián หนงลี่ ซินเหนียน) และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)
คืนก่อนวันตรุษจีน ตามภาษาจีนกลางเรียกว่า 除夕 (พินอิน: Chúxì ฉูซี่) หมายถึงการผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน
ตรุษจีน มีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่นเกาหลีเมี่ยนม้งมองโกเลียเวียดนามทิเบตเนปาลและภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย
ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน ในปีนี้ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่างหยุดงาน โรงเรียนสถาบันการศึกษาต่างปิดเทอมในช่วงนี้ เป็นปิดเรียนฤดูหนาว ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่ไม่สามารถหยุดงานได้ หน่วยงานห้างร้านต่างก็หยุดงาน 3-4 วัน เมื่อใกล้วันปีใหม่จีน ผู้คนต่างก็มีการตระเตรียมงานปีใหม่
ภายในครอบครัว ทุกบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน ผ่านปีใหม่อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพร ในตลาดก็คราคร่ำไปด้วยผู้คน ต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง ซื้อเป็ดไก่บ้าง ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข ช่วงเทศกาลปีใหม่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก ต่างสวมเสื้อใหม่ ทานลูกกวาดขนมหวาน เล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง
คืนก่อนวันปีใหม่ คือวันสุดท้ายของปีนั่นเองเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่
ภายในครอบครัว ทุกบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน ผ่านปีใหม่อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพร ในตลาดก็คราคร่ำไปด้วยผู้คน ต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง ซื้อเป็ดไก่บ้าง ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข ช่วงเทศกาลปีใหม่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก ต่างสวมเสื้อใหม่ ทานลูกกวาดขนมหวาน เล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง
คืนก่อนวันปีใหม่ คือวันสุดท้ายของปีนั่นเองเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่
ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน
ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น
วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง
เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน
อาหารไหว้เจ้า
ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆมีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมัน
เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน
สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์
ชุดผลไม้ที่มีความหมายมงคล เช่น
๑. ส้ม คนจีนแต้จิ๋วเรียกแบบชาวบ้านว่า กา แต่ส้มมีอีกคำเรียกว่า ไต้กิก ไต้ แปลว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มงคล
ไต้กิก จึงแปลว่า มหาสิริมงคล แต่ถ้าแปลง่ายๆ แบบชาวบ้านก็คือ โชคดี
๒. กล้วย จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เก็ง-เจีย จะเล่นเสียงว่า เก็ง-เจีย-เก็ง-ไล้ แปลว่า ถึงโชคเข้ามา กับอีกความหมายว่า กล้วย มีผลมากมายแถมเป็นเครือ จึงมีมงคลให้ลูกหลานมากๆ มีวงศ์วานว่านเครือสืบสกุล
๓. องุ่น จีนแต้จิ๋วเรียกว่า พู่-ท้อ พู่ ก็คือ งอก หรืองอกงาม ท้อ ก็คือ พ้องเสียงกับลูกท้อ ที่เป็นผลไม้มงคล อายุยืน
๔. สับปะรด คนจีนแต้จิ๋วเรียก อั้งไล้ แปลว่า เรียกสีแดงมา สีแดงเป็นสีของโชค ก็ประมาณว่าเรียกโชคเข้ามา คนจีนทางใต้นิยมไหว้สับปะรดมาก
อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน
ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน
ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน
การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล
บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก
ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษเพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ ของตน
15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน
วันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด
วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน
วันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่าย
วันที่หก ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุข
วันที่เจ็ด ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จ
วันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์
วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้
วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันของเพื่อนและญาติๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
วันที่สิบสี่ ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน
๑. ส้ม คนจีนแต้จิ๋วเรียกแบบชาวบ้านว่า กา แต่ส้มมีอีกคำเรียกว่า ไต้กิก ไต้ แปลว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มงคล
ไต้กิก จึงแปลว่า มหาสิริมงคล แต่ถ้าแปลง่ายๆ แบบชาวบ้านก็คือ โชคดี
๒. กล้วย จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เก็ง-เจีย จะเล่นเสียงว่า เก็ง-เจีย-เก็ง-ไล้ แปลว่า ถึงโชคเข้ามา กับอีกความหมายว่า กล้วย มีผลมากมายแถมเป็นเครือ จึงมีมงคลให้ลูกหลานมากๆ มีวงศ์วานว่านเครือสืบสกุล
๓. องุ่น จีนแต้จิ๋วเรียกว่า พู่-ท้อ พู่ ก็คือ งอก หรืองอกงาม ท้อ ก็คือ พ้องเสียงกับลูกท้อ ที่เป็นผลไม้มงคล อายุยืน
๔. สับปะรด คนจีนแต้จิ๋วเรียก อั้งไล้ แปลว่า เรียกสีแดงมา สีแดงเป็นสีของโชค ก็ประมาณว่าเรียกโชคเข้ามา คนจีนทางใต้นิยมไหว้สับปะรดมาก
อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดม- สมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว
ทางตอนใต้ของจีน จานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ ทางเหนือ หมั่นโถ และติ่มซำ เป็นอาหารที่นิยม อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน
ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน
ทุกคนจะไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ความหมายเป็นนัย และคำว่า สี่ ซึ่งออกเสียงคล้ายความตายก็จะต้องไม่พูดออกมา ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่
หากคุณร้องไห้ในวันปีใหม่ คุณจะมีเรื่องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอน
การแต่งกายและความสะอาด ในวันตรุษจีนเราไม่ควรสระผมเพราะนั้นจะหมายถึงเราชะล้างความโชคดีของเราออกไป เสื้อผ้าสีแดงเป็นสีที่นิยมสวมใส่ในช่วงเทศกาลนี้ สีแดงถือเป็นสีสว่าง สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี
วันตรุษจีนกับความเชื่ออื่น ๆ สำหรับคนที่เชื่อโชคลางมากๆ ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านและทางที่จะไปเพื่อ เป็นความเป็นสิริมงคล
บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี
การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษ ถือเป็นโชคร้ายดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคนป่วยก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก
ไม่ควรใช้มีดหรือกรรไกรในวันตรุษเพราะเชื่อว่าจะเป็นการตัดโชคดี ทุกวันนี้ไม่ใช่ว่าชาวจีนทุกคนจะคงยังเชื่อตามความเชื่อที่มีมาแต่ทุกคนก็ยังคงยึดถือ และปฎิบัติตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนธรรมเนียม และวัฒนธรรม โดยที่ชาวจีน ตระหนักดีว่าการปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมมาแต่เก่าก่อนเป็นการแสดงถึงความเป็น ครอบครัวและเอกลักษณ์ ของตน
15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน
วันแรกของปีใหม่ เป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อ ในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุและนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน
วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลาย และจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าวอาบ น้ำให้แก่มัน ด้วยเชื่อว่า วันที่สองนี้เป็นวันที่สุนัขเกิด
วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน
วันที่ห้า เรียกว่า พูวู ซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมาเยือน ของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย ในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่าเป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่าย
วันที่หก ถึงสิบชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของ ครอบครัว และไปวัดไปวาสวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุข
วันที่เจ็ด ของตุรุษจีนเป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด ของมนุษย์ในวันนี้อาหารจะเป็น หมี่ซั่วกินเพื่อชีวิตที่ยาวนานและปลาดิบเพื่อความสำเร็จ
วันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครอบอีกครั้ง และเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกง เทพแห่งสวรรค์
วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ เง็กเซียนฮ่องเต้
วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันของเพื่อนและญาติๆ ซึ่งควรเชื้อเชิญมาทานอาหารเย็น และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน วันที่สิบสามถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิ ถือเป็นการชำระล้างร่างกาย
วันที่สิบสี่ ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้น ในคืนของวันที่สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน
ทำไมการให้เงินตรุษจีน จึงเป็นเงินอวยพร
กิจกรรมเด่นอย่างหนึ่งของเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเด็กๆ จะชอบมากคือการได้เงินแต๊ะเอีย หรือจะเรียกว่า อั่งเปา ที่แปลว่าซองแดงก็ได้จากผู้ใหญ่ โดยหลายบ้านจะถือธรรมเนียมว่าให้กันเฉพาะคนในครอบครัวหรือสกุลเดียวกัน แล้วอาจจะขยายวงไปถึงคนรักใคร่นับถือกันเหมือนญาติ
โดยแต่โบราณ เรียกเงินนี้ว่า เงินเอี๊ยบส่วยจี๊
เอี๊ยบ แปลว่า กด , อัด , ห้าม
ส่วย แปลว่า อายุ
เอี๋ยบส่วยจี๊ เป็นดั่งหนึ่งเงินมงคลคุ้มครองชะตา ตามตำรา ๑๐๐ ธรรมเนียมจีนโบราณ ที่ผู้เขียนมี บอกว่าดั้งเดิมนิยมให้กันในวันสิ้นปี ผู้ใหญ่จะเอาเหรียญทองแดง ๑๐๐ อัน ร้อยด้วยด้ายแดงผูกเป็นพวงให้เด็กในวันก่อนวันตรุษจีนหรือวันสิ้นปีนั่นเอง เรียกเงินพวกนี้ว่าเอี๊ยบส่วนจี๊ โดยมีลูกเล่นเล็กๆ ว่า ส่วนที่แปลว่าอายุนี้ พ้องเสียงกับคำว่า ส่วย ที่แปลว่าผี ปีศาจ และคำว่า ซวย เอี๊ยบส่วย หรือเอี๊ยบซวย จึงแปลว่า ห้ามความซวยหรือผี ปีศาจมาสู่
เงินร้อยด้ายแดงทั้งพวงนี้ ดั้งเดิมเด็กๆ คงห้อยไว้กับเชือกผูกเอว เกิดคำว่าแต๊ะเอีย แปลว่า ถ่วงเอว
บางบ้านมีการวางส้มสีทองและลิ้นจี่ไว้ที่หมอน แล้วให้เด็กๆ รับประทานก่อนนอนในคืนวันตรุษจีน เรียกผลไม้นี้ว่า เอี๊ยบส่วยก้วย เพื่ออวยพรให้โชคดี ซึ่งคนจีนในไทยไม่ได้นำธรรมเนียมวางเอี๊ยบส่วยก้วย ไว้ที่หมอนให้ลูกหลานทาน แต่จะเป็น การนำส้มสีทองหรือ ไต้กิก ๔ ผล ไปมอบให้แก่ผู้ใหญ่หรือญาติมิตรที่นับถือกันมากกว่า เรียกธรรมเนียมนี้ว่า ไป๊เจีย
โดยมีเคล็ดธรรมเนียมว่า เมื่อเรารับส้ม ๔ ผล ที่ห่อในผ้าเช็ดหน้าผู้ชายของผู้ให้มา ก็ให้นำไปเปลี่ยน โดยนำส้มของแขกออกมา ๒ ใบ แล้วใส่ส้มของเราเข้าไปแทน ๒ ใบ ผูกห่อผ้าเช็ดหน้าคืนแขกไป ดังนั้นส้มสีทอง ๔ ผลนี้ ก็จะมีส้มของแขก ๒ ใบ กับของเราอีก ๒ ใบ ถือเป็นการนำโชคดีมามอบให้และแลกเปลี่ยนโชคกันด้วย
ส่วนเงินสิริมงคนั้น จะมีอีกตำราของผู้เขียนเรียกว่า เงินเอี่ยมเส่งจี่ หมายถึงเหรียญเงินที่พิชิตความไม่ดี คำเต็มๆ คือจับยี่แซเสี่ยวเอี่ยมเส่งจี๋ เป็นเงินเหรียญรูป ๑๒ ปีนักษัตร สำหรับเป็นเครื่องรางคุ้มครองทุกดวงชะตาให้สันติสุขปลอดภัย
แล้วต่อมาเงินเอี๊ยบส่วยจี๋ ที่เป็นเหรียญ ๑๐๐ อันร้อยเชือกแดงก็ดี เป็นเงินเอี่ยมเส่งจี๋ ๑๒ นักษัตรก็ดี ต่อมาก็พัฒนาเป็นการให้ธนบัตรใหม่ๆ ใส่ซองแดง เรียกว่าเงินอั่งเปาก็ได้ เงินแต๊ะเอีย ก็ดี สืบมาโดยคำนึงว่าเงินเอี๊ยมส่วยจี๋ได้หายไป หากเคล็ดการให้ก็ยังคงเพื่ออวยพรนั่นเอง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับว่า
ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้เด็กเล็กๆ นี่คือการอวยพรให้เจ้าตัวน้อยเจริญเติบโตแข็งแรง
ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ลูกหลานที่ทำงานแล้ว ก็เพื่ออวยพรให้เจริญก้าวหน้าสุขภาพแข็งแรง
หากเป็นลูกที่ทำงานแล้วให้พ่อแม่ ก็คือเพื่ออวยพรให้ท่านแข็งแรงอายุยืนยาว โดยการที่ลูกให้พ่อแม่ และพ่อแม่ให้ลูกนั้น ต้องเป็นเงินของใครของมัน ไม่ใช่ว่าลูกให้พ่อแม่ เมื่อพ่อแม่รับเงินอั่งเปาจากลูกก็ส่งคืนเงินทั้งซองกลับไป แต่ต่างฝ่ายต่างควรเตรียมเงินของตนไว้ให้เรียบร้อย
และเพื่อให้ครบถ้วนความรู้ แม้ว่าผู้เขียนจะเคยเล่าไปแล้วก็ตาม นั่นคือ ธรรมเนียมการให้เงินเป็นเลขคู่สี่ โดยเริ่มต้นนับแต่จำความได้ ผู้เขียนจะได้เงินแต๊ะเอียจากคุณพ่อเป็นแบงก์ร้อยใหม่ ๔ ใบ แล้วปีต่อมาก็เบิ้ลเป็นแบงก์ร้อยใหม่ๆ ๘ ใบ ปีถัดมาก็เป็นเงินใหม่ ๑,๒๐๐ บาท คือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี แต่ต้องให้หาร ๔ ลงตัว ปีต่อมาเป็นแบงก์ ๕๐๐ ๔ ใบ เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท
ที่เล่าถึงประสบการณ์จริงตรงนี้ เพื่อเล่าถึง ๒ ความนัยว่า นัยหนึ่ง คือ มงคลพรเลข ๔ จากความหมายพ้องเสียงสี่ว่า ให้เพื่อ...ซี้วี่อู่หอซิว แปลว่า ทุกชาติทุกเวลาให้มีแต่รับเข้ามา ให้เพื่อ...อู่จี๊อู่สี่ แปลว่า ให้มีเงินมีอานาจวาสนา
ส่วนการให้เพิ่มทุกปี เพื่ออวยพรตัวผู้ให้ว่า ขอให้ท่านการค้าก้าวหน้ากว่าเดิม จึงให้ลุกๆ เพิ่มได้ทุกปี จนไปสะดุดเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี คุณพ่อก็ถือว่าไม่ให้ลดลงแต่จะให้เท่าเดิม แม้ว่าบางปีนั้นคุณพ่อบอกว่า...ต้องกัดฟันก็ตาม
ซึ่งเคล็ดธรรมเนียมเหล่านี้ หากบ้านใดจะทำเหมือนหรือไม่เหมือนอย่างไร ก็ล้วนไม่เป็นไรทั้งสิ้น อยู่ที่ตัวของทุกท่านว่า มีความสุขสบายใจ ขอให้บ่วงสื่อยู่อี่ ทุกเรื่องสมปราถนานะคะ
ทำไมตรุษจีน จึงจุดประทัดและเชิดสิงโต
ขอเริ่มจาธรรมเนียมจุดประทัดก่อนว่า เกิดจากในอดีตมีคนหัวใสนำดินระเบิดไปบรรจุในบ้องไม้ไผ่เล็กๆ แล้วจุด เสียงไม้ไผ่ระเบิดก็ดังสนั่นหู เด็กเล็กได้ยินก็ร้องจ้า บรรดาสุนัขและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายต่างพากันกลัวเสียงประทัดวิ่งหนีกันได้
ทำให้มีคนคิดว่าเสียงดังโป้งป้างของประทัด น่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนได้ ซึ่งเหนียนคำนี้เป็นเสียงจีนกลาง จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า นี้ แปลว่า ปี คนจีนโบราณเชื่อว่าช่วงสิ้นปีที่อากาศหนาวเย็นจัดคนไม่สบายกันมาก เพราะเจ้าตัวเหนียนออกมาอาละวาด การจุดประทัดเสียงดังน่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนและโรคภัยไข้เจ็บให้ตกใจกลัวหนีไปได้
แล้วต่อมาธรรมเนียมนี้ก็ปรับไปว่า จุดประทัดให้เสียงดังๆ นี้จะเรียกโชคดีให้มาหา บ้างก็ว่า เพื่อให้สะดุดหูเทพเจ้า ท่านจะได้มาช่วยคุ้มครอง
ส่วนการเชิดสิงโตวันตรุษจีน ที่บางท้องที่จัดเป็นพิธีแห่มังกรใหญ่โต ธรรมเนียมนี้มีความเป็นมาอย่างไร จำได้ว่าเคยเขียนเรื่องการเชิดสิงโตไว้ในตอนความรู้จากคำ...สิงห์ ปัจจุบันอยู่ในหนังสือขุมทรัพย์ความรู้ซ่อนอยู่ในคำจีน
โดยคนจีนเรียกการแสดงเชิดสิงโตว่า ไซ่จื้อบู่ แปลง่ายๆ ว่า ระบุลูกสิงโต จัดอยู่ในหมวดการแสดงสวมหน้ากากสัตว์ จากบันทึกของราชวงศ์เหนือ...ใต้ (พ.ศ. ๘๕๐ – ๑๑๓๒) เมื่อชาวบ้านในมณฑลกวางตุ้ง มีการแสดงเชิดสิงโตเพื่อไล่ผีที่เชื่อว่า มาลงกินผู้ชายและสัตว์เลี้ยง ก่อเกิดเป็นความเชื่อว่า เชิดสิงโตช่วยไล่ภูตผีปีศาจได้ ก็เลยเข้าคู่กันเหมาะมากกับการจุดประทัดวันตรุษจีน
ส่วนการแห่มังกร ก็เริ่มจากในสมัยราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน (พ.ศ. ๒๕๔ – ๓๓๙) จัดเป็นการแสดงเล็กๆ แล้วมาจัดเป็นโชว์ใหญ่ที่สวยตระการตาในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๓๓๗ – ๗๖๓) โดยเริ่มต้นจะมาจากตำนานปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูสวรรค์ก็จะกลายเป็นปลามังกรมีฤทธิ์เดช โดยปลามังกรนี้ คือสัตว์ยิ่งใหญ่มีพลังอำนาจ ใครได้พบได้ชมก็จะได้รับพลังช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีทำมาหากินได้ผลบริบูรณ์
แต่เนื่องจากทั้งการเชิดสิงโตและแห่มังกรนี้ ผู้แสดงต้องมีความสามารถพิเศษในเชิงกายกรรมต่อตัว การสมดุลตัว ที่สุดของการเชิดสิงโตคือการได้ซองอั่งเปา สุดยอดของการแห่มังกรคือ การต่อตัวขึ้นไปเพื่อหยิบซองอั่งเปาบนไม้สูง
ที่เมื่อทำได้ ความหมายของการได้ซองอั่งเปานี้คือ การจะได้โชคดีกันถ้วนหน้าตลอดปีทีเดียว
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่
กิจกรรมเด่นอย่างหนึ่งของเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเด็กๆ จะชอบมากคือการได้เงินแต๊ะเอีย หรือจะเรียกว่า อั่งเปา ที่แปลว่าซองแดงก็ได้จากผู้ใหญ่ โดยหลายบ้านจะถือธรรมเนียมว่าให้กันเฉพาะคนในครอบครัวหรือสกุลเดียวกัน แล้วอาจจะขยายวงไปถึงคนรักใคร่นับถือกันเหมือนญาติ
โดยแต่โบราณ เรียกเงินนี้ว่า เงินเอี๊ยบส่วยจี๊
เอี๊ยบ แปลว่า กด , อัด , ห้าม
ส่วย แปลว่า อายุ
เอี๋ยบส่วยจี๊ เป็นดั่งหนึ่งเงินมงคลคุ้มครองชะตา ตามตำรา ๑๐๐ ธรรมเนียมจีนโบราณ ที่ผู้เขียนมี บอกว่าดั้งเดิมนิยมให้กันในวันสิ้นปี ผู้ใหญ่จะเอาเหรียญทองแดง ๑๐๐ อัน ร้อยด้วยด้ายแดงผูกเป็นพวงให้เด็กในวันก่อนวันตรุษจีนหรือวันสิ้นปีนั่นเอง เรียกเงินพวกนี้ว่าเอี๊ยบส่วนจี๊ โดยมีลูกเล่นเล็กๆ ว่า ส่วนที่แปลว่าอายุนี้ พ้องเสียงกับคำว่า ส่วย ที่แปลว่าผี ปีศาจ และคำว่า ซวย เอี๊ยบส่วย หรือเอี๊ยบซวย จึงแปลว่า ห้ามความซวยหรือผี ปีศาจมาสู่
เงินร้อยด้ายแดงทั้งพวงนี้ ดั้งเดิมเด็กๆ คงห้อยไว้กับเชือกผูกเอว เกิดคำว่าแต๊ะเอีย แปลว่า ถ่วงเอว
บางบ้านมีการวางส้มสีทองและลิ้นจี่ไว้ที่หมอน แล้วให้เด็กๆ รับประทานก่อนนอนในคืนวันตรุษจีน เรียกผลไม้นี้ว่า เอี๊ยบส่วยก้วย เพื่ออวยพรให้โชคดี ซึ่งคนจีนในไทยไม่ได้นำธรรมเนียมวางเอี๊ยบส่วยก้วย ไว้ที่หมอนให้ลูกหลานทาน แต่จะเป็น การนำส้มสีทองหรือ ไต้กิก ๔ ผล ไปมอบให้แก่ผู้ใหญ่หรือญาติมิตรที่นับถือกันมากกว่า เรียกธรรมเนียมนี้ว่า ไป๊เจีย
โดยมีเคล็ดธรรมเนียมว่า เมื่อเรารับส้ม ๔ ผล ที่ห่อในผ้าเช็ดหน้าผู้ชายของผู้ให้มา ก็ให้นำไปเปลี่ยน โดยนำส้มของแขกออกมา ๒ ใบ แล้วใส่ส้มของเราเข้าไปแทน ๒ ใบ ผูกห่อผ้าเช็ดหน้าคืนแขกไป ดังนั้นส้มสีทอง ๔ ผลนี้ ก็จะมีส้มของแขก ๒ ใบ กับของเราอีก ๒ ใบ ถือเป็นการนำโชคดีมามอบให้และแลกเปลี่ยนโชคกันด้วย
ส่วนเงินสิริมงคนั้น จะมีอีกตำราของผู้เขียนเรียกว่า เงินเอี่ยมเส่งจี่ หมายถึงเหรียญเงินที่พิชิตความไม่ดี คำเต็มๆ คือจับยี่แซเสี่ยวเอี่ยมเส่งจี๋ เป็นเงินเหรียญรูป ๑๒ ปีนักษัตร สำหรับเป็นเครื่องรางคุ้มครองทุกดวงชะตาให้สันติสุขปลอดภัย
แล้วต่อมาเงินเอี๊ยบส่วยจี๋ ที่เป็นเหรียญ ๑๐๐ อันร้อยเชือกแดงก็ดี เป็นเงินเอี่ยมเส่งจี๋ ๑๒ นักษัตรก็ดี ต่อมาก็พัฒนาเป็นการให้ธนบัตรใหม่ๆ ใส่ซองแดง เรียกว่าเงินอั่งเปาก็ได้ เงินแต๊ะเอีย ก็ดี สืบมาโดยคำนึงว่าเงินเอี๊ยมส่วยจี๋ได้หายไป หากเคล็ดการให้ก็ยังคงเพื่ออวยพรนั่นเอง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับว่า
ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้เด็กเล็กๆ นี่คือการอวยพรให้เจ้าตัวน้อยเจริญเติบโตแข็งแรง
ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ลูกหลานที่ทำงานแล้ว ก็เพื่ออวยพรให้เจริญก้าวหน้าสุขภาพแข็งแรง
หากเป็นลูกที่ทำงานแล้วให้พ่อแม่ ก็คือเพื่ออวยพรให้ท่านแข็งแรงอายุยืนยาว โดยการที่ลูกให้พ่อแม่ และพ่อแม่ให้ลูกนั้น ต้องเป็นเงินของใครของมัน ไม่ใช่ว่าลูกให้พ่อแม่ เมื่อพ่อแม่รับเงินอั่งเปาจากลูกก็ส่งคืนเงินทั้งซองกลับไป แต่ต่างฝ่ายต่างควรเตรียมเงินของตนไว้ให้เรียบร้อย
และเพื่อให้ครบถ้วนความรู้ แม้ว่าผู้เขียนจะเคยเล่าไปแล้วก็ตาม นั่นคือ ธรรมเนียมการให้เงินเป็นเลขคู่สี่ โดยเริ่มต้นนับแต่จำความได้ ผู้เขียนจะได้เงินแต๊ะเอียจากคุณพ่อเป็นแบงก์ร้อยใหม่ ๔ ใบ แล้วปีต่อมาก็เบิ้ลเป็นแบงก์ร้อยใหม่ๆ ๘ ใบ ปีถัดมาก็เป็นเงินใหม่ ๑,๒๐๐ บาท คือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี แต่ต้องให้หาร ๔ ลงตัว ปีต่อมาเป็นแบงก์ ๕๐๐ ๔ ใบ เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท
ที่เล่าถึงประสบการณ์จริงตรงนี้ เพื่อเล่าถึง ๒ ความนัยว่า นัยหนึ่ง คือ มงคลพรเลข ๔ จากความหมายพ้องเสียงสี่ว่า ให้เพื่อ...ซี้วี่อู่หอซิว แปลว่า ทุกชาติทุกเวลาให้มีแต่รับเข้ามา ให้เพื่อ...อู่จี๊อู่สี่ แปลว่า ให้มีเงินมีอานาจวาสนา
ส่วนการให้เพิ่มทุกปี เพื่ออวยพรตัวผู้ให้ว่า ขอให้ท่านการค้าก้าวหน้ากว่าเดิม จึงให้ลุกๆ เพิ่มได้ทุกปี จนไปสะดุดเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี คุณพ่อก็ถือว่าไม่ให้ลดลงแต่จะให้เท่าเดิม แม้ว่าบางปีนั้นคุณพ่อบอกว่า...ต้องกัดฟันก็ตาม
ซึ่งเคล็ดธรรมเนียมเหล่านี้ หากบ้านใดจะทำเหมือนหรือไม่เหมือนอย่างไร ก็ล้วนไม่เป็นไรทั้งสิ้น อยู่ที่ตัวของทุกท่านว่า มีความสุขสบายใจ ขอให้บ่วงสื่อยู่อี่ ทุกเรื่องสมปราถนานะคะ
ทำไมตรุษจีน จึงจุดประทัดและเชิดสิงโต
ขอเริ่มจาธรรมเนียมจุดประทัดก่อนว่า เกิดจากในอดีตมีคนหัวใสนำดินระเบิดไปบรรจุในบ้องไม้ไผ่เล็กๆ แล้วจุด เสียงไม้ไผ่ระเบิดก็ดังสนั่นหู เด็กเล็กได้ยินก็ร้องจ้า บรรดาสุนัขและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายต่างพากันกลัวเสียงประทัดวิ่งหนีกันได้
ทำให้มีคนคิดว่าเสียงดังโป้งป้างของประทัด น่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนได้ ซึ่งเหนียนคำนี้เป็นเสียงจีนกลาง จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า นี้ แปลว่า ปี คนจีนโบราณเชื่อว่าช่วงสิ้นปีที่อากาศหนาวเย็นจัดคนไม่สบายกันมาก เพราะเจ้าตัวเหนียนออกมาอาละวาด การจุดประทัดเสียงดังน่าจะไล่เจ้าตัวเหนียนและโรคภัยไข้เจ็บให้ตกใจกลัวหนีไปได้
แล้วต่อมาธรรมเนียมนี้ก็ปรับไปว่า จุดประทัดให้เสียงดังๆ นี้จะเรียกโชคดีให้มาหา บ้างก็ว่า เพื่อให้สะดุดหูเทพเจ้า ท่านจะได้มาช่วยคุ้มครอง
ส่วนการเชิดสิงโตวันตรุษจีน ที่บางท้องที่จัดเป็นพิธีแห่มังกรใหญ่โต ธรรมเนียมนี้มีความเป็นมาอย่างไร จำได้ว่าเคยเขียนเรื่องการเชิดสิงโตไว้ในตอนความรู้จากคำ...สิงห์ ปัจจุบันอยู่ในหนังสือขุมทรัพย์ความรู้ซ่อนอยู่ในคำจีน
โดยคนจีนเรียกการแสดงเชิดสิงโตว่า ไซ่จื้อบู่ แปลง่ายๆ ว่า ระบุลูกสิงโต จัดอยู่ในหมวดการแสดงสวมหน้ากากสัตว์ จากบันทึกของราชวงศ์เหนือ...ใต้ (พ.ศ. ๘๕๐ – ๑๑๓๒) เมื่อชาวบ้านในมณฑลกวางตุ้ง มีการแสดงเชิดสิงโตเพื่อไล่ผีที่เชื่อว่า มาลงกินผู้ชายและสัตว์เลี้ยง ก่อเกิดเป็นความเชื่อว่า เชิดสิงโตช่วยไล่ภูตผีปีศาจได้ ก็เลยเข้าคู่กันเหมาะมากกับการจุดประทัดวันตรุษจีน
ส่วนการแห่มังกร ก็เริ่มจากในสมัยราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน (พ.ศ. ๒๕๔ – ๓๓๙) จัดเป็นการแสดงเล็กๆ แล้วมาจัดเป็นโชว์ใหญ่ที่สวยตระการตาในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. ๓๓๗ – ๗๖๓) โดยเริ่มต้นจะมาจากตำนานปลาหลีฮื้อกระโดดข้ามประตูสวรรค์ก็จะกลายเป็นปลามังกรมีฤทธิ์เดช โดยปลามังกรนี้ คือสัตว์ยิ่งใหญ่มีพลังอำนาจ ใครได้พบได้ชมก็จะได้รับพลังช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีทำมาหากินได้ผลบริบูรณ์
แต่เนื่องจากทั้งการเชิดสิงโตและแห่มังกรนี้ ผู้แสดงต้องมีความสามารถพิเศษในเชิงกายกรรมต่อตัว การสมดุลตัว ที่สุดของการเชิดสิงโตคือการได้ซองอั่งเปา สุดยอดของการแห่มังกรคือ การต่อตัวขึ้นไปเพื่อหยิบซองอั่งเปาบนไม้สูง
ที่เมื่อทำได้ ความหมายของการได้ซองอั่งเปานี้คือ การจะได้โชคดีกันถ้วนหน้าตลอดปีทีเดียว
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่
- 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
- 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย)
- เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ ร่ำรวยๆ
- อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น