อันดับ 10. Arbor del Tule
flickr/nathangibbs
flickr/mifl68
flickr/tm-tm
flickr/Community Friend
flickr/bdinphoenix
flickr/Harold Laudeus
flickr/Soqotra (Yemen)
flickr/goingslo
flickr/Nicolas Karim
flickr/Olivier Lejade
Árbol del Tule ต้นไซปรัส มอนเตซูมา ตั้งอยู่ใจกลางเมือง Santa María del Tule รัฐโออาซากาทางตอนใต้ของเม็กซิโก เป็น ต้นไม้ที่มีลำต้นใหญ่ที่สุดในโลก แม้ดูแล้วจะให้ความรู้สึกคล้ายต้นไม้หลายต้นเจริญเติบโตใกล้กัน แต่ผลทาง DNA ก็พิสูจน์ออกมาแล้วว่าที่เห็นอยู่นี้ พี่เค้าคือต้นไม้ยักษ์เพียงต้นเดียวเท่านั้น และมีอายุประมาณ 1,200-3,000 ปี !
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 9. Cotton Tree
ต้นฝ้าย แห่ง Freetown เมืองหลวงของ เซียร์ราลีโอน ตามตำนานกล่าวว่า ต้นฝ้าย นี้ได้กลายเป็น สัญลักษณ์แห่งประวัติศาสตร์ ในปี 1792 เมื่อครั้งกลุ่มทาสอเมริกันแอฟริกันในอดีตต่อสู้กับชนอังกฤษช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกันจนได้รับอิสระและตั้งรกรากอยู่ที่ย่าน Freetown พวกเขารวมตัวกันที่ชายฝั่งและทำพิธีขอบคุณพระเจ้าบริเวณต้นฝ้ายยักษ์ ประจักษ์พยานแห่งเสรีภาพ
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 8. Boab Prison Tree
Boab Prison Tree ต้นไม้คุมขัง หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายว่า คุกต้นไม้ เป็นต้นไม้โพรงขนาดใหญ่ อยู่ทางตอนใต้ของ เมือง Derby รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย มีชื่อเสียงโ่ด่งดังในฐานะที่เคยถูกใช้เป็นคุกขังนักโทษชนเผ่าออสเตรเลียพื้นเมือง ในช่วงปี 1890 ปัจจุบันได้มีการสร้างรั้วรอบด้านเพื่อป้องกันการถูกทำลาย
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 7. Major Oak
Major Oak เป็นต้นโอ๊คขนาดยักษ์ ใจกลางป่า Sherwood เขต Nottinghamshire ประเทศอังกฤษ เชื่อกันว่าเคยเป็นที่พักของโรบินฮู้ดและผองโจร ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงแห่งนี้มีอายุราว 800 ถึง 1,000 ปี ในปี 1790 พลตรี Hayman Rooke นักสะสมโบราณวัตถุ ได้เขียนถึง ต้นโอ๊คยักษ์แห่งนี้ ไว้ในหนังสือชื่อดังของเขา จึงเป็นที่มาของชื่อ Major Oak
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 6. Lone Cypress
Lone Cypress ต้นไซปรัสผู้โดดเดี่ยว ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ที่ชายหาด Pebble โต้ท้าลมจากมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นจุดชมวิวที่มีชื่อเสียงที่สุดบนถนนเส้น 17 ไมล์ ต้นไซปรัสที่เห็นเป็นสายพันธุ์ที่หาได้ในแถบชายฝั่งตอนกลางของ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนตามป่าเขาจะพบไซปรัสนี้ได้เพียง 2 แห่ง คือ มอนเทอเรย์ และ คาร์เมล
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 5. Tree of Life
ต้นไม้่แห่งชีวิต ประเทศบาห์เรน เป็นไม้หนามแหลมที่เจริญเติบโตกลางทะเลทราย มีอายุประมาณ 400 ถึง 500 ปี รากยาวที่ฝังลึกอาจถูกหล่อเลี้ยงจากแหล่งน้ำใต้ดิน ถือเป็นความอัศจรรย์ที่หนึ่งชีวิตสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในดินแดนอันแสนแห้งแล้ง ชนท้องถิ่นมีความเชื่อว่าสิ่งนี้อาจเป็น สวนแห่งอีเดน ที่แท้จริง
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 4. Socotra Dragon Trees
ต้นไม้เลือดมังกร เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเอกลัษณ์และชื่อเสียงมากที่สุดของเกาะ Socotra เชื่อกันว่ามีทีมาจากตำนานแปลก พระเจ้าเสกมังกรยักษ์ให้กลายเป็นต้นไม้ จึงรู้จักกันในชื่อ Dragon Tree หากลองกรีดเปลือกไม้ เลือดของมังกรจะไหลรินออกมา และรูปลักษณ์ประหลาดนี้มีส่วนสร้างร่มเงา บดบังแสงอาทิตย์ ช่วยลดอัตราการระเหย จึงทำให้ Dragon Tree มีชีวิตรอดท่ามกลางสภาพแห้งแล้ง
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 3. General Sherman
General Sherman หรือ นายพลเชอร์แมน เป็นต้นซีคัวยายักษ์ ตั้งตระหง่านอยู่ที่ ป่า Giant อุทยานแห่งชาติซีคัวยา รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศอเมริกา หากวัดในเชิงปริมาณ 5 ใน 10 ของต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่ป่าแห่งนี้ และ General Sherman คือ ต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในอุทยาน ด้วยความสูง 83.8 เมตร (275 ฟุต) เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.7 เมตร (25 ฟุต) เชื่อกันว่า ต้นซีคัวยานี้ มีอายุถึง 2,300 – 2,700 ปี
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 2. Cedars of God
Cedars of God เป็นป่าขนาดเล็ก ประกอบด้วยต้นสนซีดาร์ประมาณ 400 ต้น อยู่บนภูเขาทางตอนเหนือของ ประเทศเลบานอน เป็นร่องรอยสุดท้ายที่เหลืออยู่ของป่าสนซีดาร์ซึ่งเจริญเติบโตและยืนหยัดมาตั้งแต่สมัยโบราณ สนซีดาร์แห่งเลบานอน ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิลกว่า 70 ครั้ง ชาวอียิปต์โบราณใช้ยางสนในพิธีทำมัมมี่ และกษัตริย์โซโลมอนใช้ต้นสนนี้ในการสร้างวัดแห่งแรกของเยรูซาเลม
ต้นไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก อันดับ 1. Avenue of the Baobabs
ต้นเบาบับ มีขนาดสูงเต็มที่ เกือบ 30 เมตร กว้าง 11 เมตร ลักษณะพิเศษของ ต้นเบาบับ คือมีลำต้นพองโต ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่กักเก็บน้ำได้มากถึง 120,000 ลิตร เพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่แห้งแล้ง มีอายุกว่า 800 ปี หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งมาดากัสการ์ แม้ป่าบางแห่งจะถูกทำลายลงเพื่อนำมาสร้างบ้านเรือนให้มนุษย์ แต่ ป่าเบาบับ ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ ยังคงได้รับการอนุรักษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น