ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร |
|
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา
วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา | |
ยาสมุนไพรเป็นส่วนประกอบที่ได้มาจากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ตัวยาที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร
จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ที่สำคัญก็คือ "ช่วงเวลาที่เก็บยาสมุนไพร"
การเก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะมีผลต่อฤทธิ์การรักษาโรคของยาสมุนไพรได้ นอกจากคำ
นึงถึงช่วงเวลาในการเก็บยาเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องคำนึงถึงว่าเก็บยาถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหน
ของพืชที่ใช้เป็นยา เป็นต้น พื้นดินที่ปลูก อากาศ การเลือกเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาอย่างถูกวิธีนั้น
จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของยาที่จะนำมารักษาโรค หากปัจจัยดังกล่าวเปลี่ยนไป
ปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ทำให้ยานั้นไม่เกิดผลในการักษาโรคได้
หลักทั่วไปในการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพร แบ่งโดยส่วนที่ใช้เป็นยาดังนี้
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ตามการถ่ายทอดประสบการณ์ของแพทย์ไทยโบราณนั้น ยังมีการ
เก็บยาตามฤดูกาล วัน โมงยาม และทิศอีกด้วย เช่น ใบควรเก็บในตอนเช้าวันอังคาร ฤดูฝนทาง
ทิศตะวันออก เป็นต้น อย่างไรก็ตามในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้หลักการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพร
ข้างต้น นอกจากนี้ท่านผู้ศึกษาการเก็บและการใช้สมุนไพร สามารถเรียนรู้ได้จากหมอพื้นบ้าน
ที่อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งมีประสบการณ์เก็บยาและการใช้ยามาเป็นเวลาช้านาน
วิธีการเก็บสมุนไพรที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น โดยทั่วไปไม่มีอะไรสลับซับซ้อน ประเภทใบ
ดอก ผล ใช้วิธีเด็ดแบบธรรมดา ส่วนแบบราก หัว หรือเก็บทั้งต้น ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง เพื่อประกัน
ให้ได้ส่วนที่เป็นยามากที่สุด สำหรับเปลือกต้นหรือเปลือกราก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
ของต้นพืช ดังนั้นจึงควรสนใจวิธีการเก็บดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
คุณภาพของยาสมุนไพรจะใช้รักษาโรคได้ดีหรือไม่นั้น ที่สำคัญอยู่ที่ช่วงเวลาการเก็บ
สมุนไพร และวิธีการเก็บ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ยังต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือ พื้นที่ปลูก เช่น ลำโพง
ควรปลูกในพื้นดินที่เป็นด่าง ปริมาณของตัวยาจะสูง สะระแหน่หากปลูกในที่ดินทราย ปริมาณน้ำ
มันหอมระเหยจะสูง และยังมีปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต ภูมิอากาศ เป็นต้น
ต่างก็มีผลต่อคุณภาพสมุนไพรทั้งนั้น ดังนั้นเราควรพิจารณาหาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนที่
จะเก็บยาสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค
ที่มา:http://www.rspg.or.th/
|
การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร
การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร |
หลักการทั่วไปของการปลูกและบำรุงรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพร ไม่แตกต่างกัน แต่
ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพร จะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพร
ต้องการการปลูกและบำรุงรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรราชาติของพืชสมุนไพรนั้นมากที่สุด เช่น
ว่านหางจระเข้ ต้องการดินปนทราย และอุดมสมบูรณ์ แดดพอเหมาะ หรือต้นเหงือกปลาหมอ
ชอบขึ้นในที่ดินเป็นเลน และที่ดินกร่อยชุ่มชื้นเป็นต้น หากผู้ปลูกสมุนไพรเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะ
ทำให้สามารถเลือกวิธีปลูกและจัดสภาพแวดล้อมของต้นไม้ได้เหมาะกับพืชสมุนไพรก็จะเจริญ
เติบโตได้ เป็นผลทำให้คุณภาพพืชสมุนไพรที่นำมารักษาโรคมีฤทธิ์ดีขึ้นด้วย
การปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย
ไม่จริงจังเท่าที่ควร บางประเทศได้ทดลองเพื่อหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะทำให้
สาระสำคัญในพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน
หรือการหาคำตอบว่าวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแต่ละชนิด จะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสม
และประหยัดมากที่สุด ในประเทศไทย หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีงานวิจัยด้าน
นี้อยู่บ้างและกำลังค้นคว้าต่อไป
การปลูก เป็นการนำเอาส่วนของพืช เช่น เมล็ด กิ่ง หัว ผ่านการเพาะหรือการชำ หรือวิธี
การอื่นๆ ใส่ลงในดิน หรือวัสดุอื่นเพื่องอกหรือเจริญเติบโตต่อไป การปลูกทำได้หลายวิธีคือ
|
การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร |
การขยายพันธุ์ คือ การสืบพันธุ์ของต้นไม้โดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการเพาะเมล็ด การแตกหน่อ
แตกตา ใช้ไหล หรือเง่าของพืช การขยายพันธุ์พืชทำให้เพิ่มจำนวนของพืชมากขึ้น การขยายพันธุ์
พืชสมุนไพร แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
|
การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน
การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน | |
การปรับปรุงดินโดยทั่วไป พืชแต่ละชนิดต้องการลักษณะของดินในการเจริญเติบโตไม่
เหมือนกัน พืชบางชนิดชอบดินที่ดอน แต่พืชบางชนิดชอบดินที่มีน้ำขัง การปรับปรุงดินให้
เหมาะกับพืชแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วการปรับปรุงดินทำได้ดังนี้คือ
| |
ดินด่างเกิดจากเหตุ 2 ประการคือ
1. เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
2. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด การปรับปรุงแก้ไขดินด่างโดยทั่วไป มักแก้โดยใส่กำ
1. เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
2. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด การปรับปรุงแก้ไขดินด่างโดยทั่วไป มักแก้โดยใส่กำ
มะถันผง แล้วทิ้งไว้ 3-4 อาทิตย์ ใส่กำมะถันปริมาณมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับความชื้น
ของดินอินทรีย์วัตถุในดินและเนื้อของดิน
- ดินเค็ม คือดินที่มีเกลือแกงปะปนอยู่ในดินเป็นปริมาณมากจนทำให้เกลือแกงเป็นพิษกับต้นพืชบางชนิด ดินเค็มนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุ 3 ประการคือ
1. เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน เช่น ดินทางภาคอีสาน
2. เกิดจากเกลือแกงเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น โดยลมพัดเอาไอเกลือมา เช่นดินแถบชายทะเล หรือน้ำพัดพามา เช่นบางแห่งแถบชายทะเล
3. เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิดเป็นเวลานานๆ แต่มีน้อยมาก การแก้ไขปรับปรุงดินเค็มนั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของการเกิด ถ้าดินเค็มนั้นเกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดินเกลือมักจะสะสมอยู่ใต้ดินลึกๆ บางแห่งคือ 1,000 - 3,000 เมตร เช่นที่เมืองออสเตรียถ้าลึกขนาดนี้ เกลือไม่ขึ้นมาบนผิวดิน มีบางแห่งลึกเพียง 50-60 เมตร เช่นดินเค็มทางภาคอีสาน เกลือจะละลายน้ำและขึ้นมากับน้ำที่ระเหยไปในอากาศ
วิธีแก้ไขปรับปรุงดินเค็มชนิดนี้ก็คือ กันไม่ให้น้ำพาเกลือขึ้นมา อาจจะโดยวิธีใดก็ได้ดินเค็มที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นหรือเกิดจากปุ๋ยเคมีบางชนิด แก้ไขปรับปรุงโดยเอาน้ำจืดชะล้างหรือโดยการปลูกพืชบางชนิดที่สามารถดูดเกลือเข้าไปเป็นปริมาณมากๆ แล้วตัดต้นพืชนั้นออกไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งที่อื่น เช่น การแก้ดินเค็มของประเทศฮอลแลนด์ อย่างนี้เป็นต้น - ดินจืด คือดินที่ปลูกอะไรไม่ขึ้น เนื่องจากอาหารธาตุที่สำคัญของพืชในดินหมดไปจากดินเช่น ที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง เมื่อปลูกมันสำปะหลังไปนานๆ แล้วปลูกพืชชนิดอื่นไม่ขึ้นมีทางแก้ไขให้ดินจืดนั้นกลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือไม่ก็เสียเวลานานมากด้วย โดยทั่วไปแล้วการปล่อยให้ดินจืดแล้วจึงแก้ทีหลังนั้นไม่ถูกวิธีทางที่ถูกวิธีนั้นก็คือ ควรปลูกพืชบำรุงดินสลับกับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ถึงอย่างไรการแก้ไขทำได้ดังนี้คือ
1. แก้ไขปรับปรุงโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้นว่าโรยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ย กทม. จะต้องใส่ถึง12 ตันต่อไร่ พร้อมด้วยการเพิ่มปุ๋ยเคมีที่มีโปรแตสสูงๆ เข้าไปด้วย
2. แก้ไขปรับปรุงโดยการปลูกพืชพวกตระกูลถั่ว อาจเป็นต้นก้ามปู ปลูกให้ถี่ๆเพื่อทำให้ต้นก้ามปูตั้งตรงสูง ทิ้งไว้ 10-20 ปี เมื่อตัดต้นก้ามปูไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้วจึงหันมาปลูกมันสำปะหลังใหม่ที่มา:http://www.rspg.or.th/
กลุ่มยาแก้ อาเจียน กะเพรา
กลุ่มยาแก้อาเจียน
|
กะเพรา
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osmium sanctum L. |
ชื่อพ้อง : Ocimum tenuousness L. |
ชื่อสามัญ : Holy basil, Sacred Basil
|
วงศ์ : Lamiaceae (Labiatae)
|
ชื่ออื่น : กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย
(ภาคอีสาน)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้น
สีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออก
ตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจัก
เป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมี
จำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก
ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล
เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
ส่วนที่ใช้ : ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น |
สรรพคุณ :แก้อาเจียน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
วิธีใช้ :
ยาภายใน
|
เด็กอ่อน - ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อน
เพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
ผู้ใหญ่ - ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ ยายภายนอก ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้ กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว
ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว
ข้อควรระวัง :
น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง - อย่าให้เข้าตา - ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย
ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก
|
กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ กฤษณา
กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
|
กฤษณา
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte
|
ชื่อสามัญ : Eagle wood
|
วงศ์ : Thymelaeaceae
|
ชื่ออื่น : ไม้หอม (ภาคตะวันออก)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 18-30 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ตามกิ่ง
อ่อนมีขนสีขาวปกคลุมใบ
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม แผ่น
ใบค่อนข้างหนา เรียบ
เกลี้ยง สีเขียว มีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 ซม. ดอก ออกเป็น
ช่อตามซอกใบ
ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ
เกสรเพศผู้มี 10 อัน
ผล รูปกลมรี มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวขรุขระเป็นลายสีเขียว มีขนละเอียดสั้นคล้ายกำมะหยี่ พอแก่
แตกอ้าออก
เมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1-2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ แก่น และชัน |
สรรพคุณ :แก้อ่อนเพลีย
วิธีใช้ :
เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ รวมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น เกษรทั้ง 5 และอื่นๆ
ที่มา:http://www.rspg.or.th/
|
กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน แคดอกขาว แคดอกแดง
กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน
|
แคดอกขาว แคดอกแดง
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Desv.
|
ชื่อสามัญ : Agasta, Sesban, Vegetable humming bird
|
วงศ์ : Leguminous |
ชื่ออื่น : แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาล
ปนเทา ขรุขระ
แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.
ยาว 3-4 ซม.
ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก
ดอกสีขาวหรือแดง
มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ด
กลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ดอก ใบสด ยอดอ่อน |
สรรพคุณ :ลดความร้อน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
|
กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ จิก
กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ
|
จิก
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Burlington acutangula (L.) Garetn. |
ชื่อสามัญ : Indian oak
|
วงศ์ : Barringtoniaceae
|
ชื่ออื่น : กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ(หนองคาย), จิกนา(ภาคใต้), ตอง(ภาคเหนือ), มุ่ยลาย
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น เป็นปุ่มปมและเป็นพู ผลัดใบ ชอบขึ้น
ริมน้ำ ใบ เดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ผิวใบมัน ใบออกสลับถี่ตามปลายยอด รูปใบยาว
เหมือนรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ใบยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบจักถี่ ก้นใบสีแดง สั้นมาก
ดอก ช่อ สีแดงห้อยลง บานจากโคนลงไปทางปลาย ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร กลีบ
เลี้ยง 4 กลีบ และจะคงติดอยู่จนเป็นผล เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก มีสีชมพูถึงสีแดง ผล ยาว
รีเป็นเหลี่ยม มีสันตามยาวของผล 4 สัน ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
ส่วนที่ใช้ : ราก น้ำจากใบ เปลือก ผล |
สรรพคุณ :ขับเสมหะ
|
กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ กระทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zinger zerumbet (L.) Smith. |
วงศ์ : Liberace
|
ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน
ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน
รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ
สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก
มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด
ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ : ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก หัว หรือ เหง้าแก่สด เก็บใบช่วงฤดูแล้ง |
สรรพคุณ :แก้ท้องร่วง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
|
กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ กานพลู
กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
|
กานพลู
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Synergism aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry ชื่อพ้อง : Caryophyllus aromatica L. ; Eugenia aromatica (L.) Baill; E.Caryophylla(Spreng.) Bullock et Harrison; E.caryophyllata Thunb. |
ชื่อสามัญ : Clove Tree
|
วงศ์ : Myrtaceae
|
ชื่ออื่น : -
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวย
คว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่
กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ
แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้น
ถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ
5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง
4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม.
ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม.
มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม.
ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก
ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง
ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ |
สรรพคุณ :แก้ปวดท้อง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
|
กลุ่มยาถ่าย กาฬพฤกษ์
กลุ่มยาถ่าย
|
กาฬพฤกษ์
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia gran dis L.f. |
ชื่อสามัญ : Pink Shower , Horse cassia
|
วงศ์ : LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็น
ร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน ดอก เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ระยะออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม ผล เป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนา แข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง 2 ข้าง ขนาดกว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน 20-40 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก เปลือก เมล็ด |
สรรพคุณ :เป็นยาถ่าย
|
กลุ่มยาถ่ายพยาธิ แก้ว
กลุ่มยาถ่ายพยาธิ
|
แก้ว
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murray paniculata (L.) Jack. |
ชื่อสามัญ : Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
|
วงศ์ : RUTACEAE
|
ชื่ออื่น : กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว
(ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ
ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล
สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1
ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม.
|
ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผล
ส่วนที่ใช้ :
|
สรรพคุณ :เป็นยาถ่ายพยาธิ
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
|
กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ กระดังงาไทย
กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ |
กระดังงาไทย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canada odorata Hook.f. & Thomson var. odorata |
ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree
|
วงศ์ : ANNONACEAE
|
ชื่ออื่น : กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจาย
อยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว
ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง
2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อย
รวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ
รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบ
ขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่า
ชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว
เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศ
เมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล
แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด
เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
|
สรรพคุณ :บำรุงหัวใจ
วิธีใช้ :
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)