วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน

 
การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน
          การปรับปรุงดินโดยทั่วไป พืชแต่ละชนิดต้องการลักษณะของดินในการเจริญเติบโตไม่
เหมือนกัน พืชบางชนิดชอบดินที่ดอน แต่พืชบางชนิดชอบดินที่มีน้ำขัง การปรับปรุงดินให้
เหมาะกับพืชแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วการปรับปรุงดินทำได้ดังนี้คือ
  1. การปรับปรุงดินในที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นบางฤดู ถ้าต้องการจะปลูกพืชไร่ ทำได้ 2 วิธีคือ
    1. ขุดคูทำคันดินรอบบริเวณที่ต้องการปลูกพืช เมื่อฝนตกน้ำท่วมก็สูบน้ำออก โดยสูบน้ำ
    ให้ได้ระดับน้ำต่ำกว่าผิวดินมากๆ ก็สามารถปลูกพืชไร่ได้ตามต้องการ เช่น ที่บริเวณเกษตร
    กลางบางเขน
    2.  ถมดินให้สูงขึ้นกว่าระดับน้ำ แล้วปลูกพืชที่ต้องการ เช่น ตามริมถนน มักจะถมดินให้สูง
    ขึ้นเพื่อปลูกต้นไม้ริมทาง แต่การถมดินนั้นควรถมให้กว้าง ถ้าถมให้สูงเฉพาะตรงต้นไม้ 
    ดินจะรับน้ำที่รดไว้ไม่พอกับปริมาณที่ต้นไม้ต้องการ
  2. การปรับปรุงดินที่มีน้ำใต้ดินสูง  ทำให้ได้การฝังท่อระบายน้ำซึ่งท่อระบายน้ำนี้จะต้องทำ
    ด้วยดินเผา ตรงหัวต่อของท่อกลบด้วยทรายหยาบเพื่อทำให้น้ำซึมผ่านได้สะดวก ท่อระบาย
    น้ำที่ฝังลงไปลึกให้พ้นจากเขตไถพรวน และจะต้องวางท่อให้ห่างกันพอเหมาะ โดยดินทรายวาง
    ให้ห่างๆ กันได้ แต่ถ้าเป็นดินเนื้อละเอียด จะต้องวางท่อให้ถี่เข้า  เมื่อน้ำระบายออกจากท่อลง
    ในลำคลองหรือร่องน้ำ แล้วสูบออก เช่น ในประเทศฮอลแลนด์เขาสูบน้ำโดยใช้กังหันลม
  3. ดินเปรี้ยวหรือดินกรด  ดินโดยทั่วไปมักจะเป็นดินกรดอ่อนๆ แต่มีบางแห่งที่เป็นกรดจัดมาก 
    จนปลูกพืชอะไรไม่ขึ้น ดินกรดนี้เกิดจากเหตุดังนี้คือ
    1.  เกิดจากหิน หรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
    2.  เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์
    3.  เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด  ปรับปรุงแก้ไขได้โดยการใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ล  แต่จะ
    ใส่มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความเป็นกรดของดิน เนื้อดินและอินทรีย์วัตถุในดิน แต่โดยทั่วๆ 
    ไปแล้ว การใส่ปูนขาวประมาณ 200 ก.ก. ต่อไร่
  4. ดินหวานหรือดินด่าง  คือดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง ซึ่งโดยทั่วไปดินเป็นด่างมักไม่ค่อยพบ
    นอกจากบางแถบของโลก  ในเมืองไทยมักพบบ้างแถบภูเขาหินปูน จังหวัดลพบุรี หรือสระบุรี

 ดินด่างเกิดจากเหตุ 2 ประการคือ
          1.  เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
          2.  เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด การปรับปรุงแก้ไขดินด่างโดยทั่วไป มักแก้โดยใส่กำ
มะถันผง แล้วทิ้งไว้ 3-4 อาทิตย์ ใส่กำมะถันปริมาณมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับความชื้น 
ของดินอินทรีย์วัตถุในดินและเนื้อของดิน
  1. ดินเค็ม  คือดินที่มีเกลือแกงปะปนอยู่ในดินเป็นปริมาณมากจนทำให้เกลือแกงเป็นพิษกับ
    ต้นพืชบางชนิด ดินเค็มนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุ 3 ประการคือ
    1.  เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน เช่น ดินทางภาคอีสาน
    2.  เกิดจากเกลือแกงเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น โดยลมพัดเอาไอเกลือมา เช่น 
    ดินแถบชายทะเล หรือน้ำพัดพามา เช่นบางแห่งแถบชายทะเล
    3.  เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิดเป็นเวลานานๆ แต่มีน้อยมาก การแก้ไขปรับปรุงดินเค็ม
    นั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของการเกิด ถ้าดินเค็มนั้นเกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดินเกลือ 
    มักจะสะสมอยู่ใต้ดินลึกๆ บางแห่งคือ 1,000 - 3,000 เมตร เช่นที่เมืองออสเตรีย 
    ถ้าลึกขนาดนี้ เกลือไม่ขึ้นมาบนผิวดิน มีบางแห่งลึกเพียง 50-60 เมตร เช่น 
    ดินเค็มทางภาคอีสาน เกลือจะละลายน้ำและขึ้นมากับน้ำที่ระเหยไปในอากาศ
    วิธีแก้ไขปรับปรุงดินเค็มชนิดนี้ก็คือ กันไม่ให้น้ำพาเกลือขึ้นมา อาจจะโดยวิธีใดก็ได้ 
    ดินเค็มที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นหรือเกิดจากปุ๋ยเคมีบางชนิด แก้ไข
    ปรับปรุงโดยเอาน้ำจืดชะล้างหรือโดยการปลูกพืชบางชนิดที่สามารถดูดเกลือเข้าไปเป็น
    ปริมาณมากๆ แล้วตัดต้นพืชนั้นออกไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งที่อื่น เช่น การแก้ดินเค็มของ
    ประเทศฮอลแลนด์ อย่างนี้เป็นต้น
  2. ดินจืด  คือดินที่ปลูกอะไรไม่ขึ้น เนื่องจากอาหารธาตุที่สำคัญของพืชในดินหมดไปจากดิน 
    เช่น ที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง เมื่อปลูกมันสำปะหลังไปนานๆ แล้วปลูกพืชชนิดอื่นไม่ขึ้น 
    มีทางแก้ไขให้ดินจืดนั้นกลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือไม่
    ก็เสียเวลานานมากด้วย  โดยทั่วไปแล้วการปล่อยให้ดินจืดแล้วจึงแก้ทีหลังนั้นไม่ถูกวิธี 
    ทางที่ถูกวิธีนั้นก็คือ ควรปลูกพืชบำรุงดินสลับกับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ถึงอย่างไร
    การแก้ไขทำได้ดังนี้คือ
    1.  แก้ไขปรับปรุงโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้นว่าโรยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ย กทม. จะต้องใส่ถึง 
    12 ตันต่อไร่ พร้อมด้วยการเพิ่มปุ๋ยเคมีที่มีโปรแตสสูงๆ เข้าไปด้วย
    2.  แก้ไขปรับปรุงโดยการปลูกพืชพวกตระกูลถั่ว อาจเป็นต้นก้ามปู ปลูกให้ถี่ๆ 
    เพื่อทำให้ต้นก้ามปูตั้งตรงสูง ทิ้งไว้ 10-20 ปี เมื่อตัดต้นก้ามปูไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว 
    จึงหันมาปลูกมันสำปะหลังใหม่
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น