วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร

ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
  1. ราคาถูกกว่ายาแผนใหม่ (ยาแผนปัจจุบัน) มาก
  2. มีพิษและผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนใหม่
  3. สมุนไพรบางชนิดเป็นทั้งอาหารและยาด้วย
  4. ไม่ต้องซื้อหา สามารถปลูกได้เองในบ้าน
  5. เหมาะกับคนส่วนใหญ่ เพราะสามารถนำมาใช้ได้เอง เมื่อรู้จักวิธีใช้
  6. ช่วยลดดุลย์การค้า ในการสั่งยาจากต่างประเทศ
  7. ทำให้คนเห็นคุณค่า และกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น
  8. ทำให้เกิดความภูมิใจ ในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย
  9. เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกไทยในการสนับสนุนให้ประชาชนช่วยตนเองในการใช้ยา
    สมุนไพรตามแบบแผนโบราณ
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา


  
วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา
          ยาสมุนไพรเป็นส่วนประกอบที่ได้มาจากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ตัวยาที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร
จะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ที่สำคัญก็คือ "ช่วงเวลาที่เก็บยาสมุนไพร"  
การเก็บในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะมีผลต่อฤทธิ์การรักษาโรคของยาสมุนไพรได้ นอกจากคำ
นึงถึงช่วงเวลาในการเก็บยาเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องคำนึงถึงว่าเก็บยาถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหน
ของพืชที่ใช้เป็นยา เป็นต้น พื้นดินที่ปลูก อากาศ การเลือกเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาอย่างถูกวิธีนั้น 
จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของยาที่จะนำมารักษาโรค หากปัจจัยดังกล่าวเปลี่ยนไป 
ปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ทำให้ยานั้นไม่เกิดผลในการักษาโรคได้
          หลักทั่วไปในการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพร แบ่งโดยส่วนที่ใช้เป็นยาดังนี้
  1. ประเภทรากหรือหัว  เก็บในช่วงที่พืชหยุดเจริญเติบโต ใบ ดอก ร่วงหมด หรือใน
    ช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เพราะเหตุว่าในช่วงนี้ รากและหัวมีการสะสมปริมาณ
    ของตัวยาไว้ค่อนข้างสูง
  2. ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น  ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด หรือบาง
    ชนิดอาจระบุช่วงเวลาการเก็บชัดเจน เช่น เก็บใบไม้อ่อนหรือไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) 
    เก็บช่วงดอกตูมเริ่มบาน หรือช่วงที่ดอกบาน เป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบ เพราะ
    ช่วงเวลานั้น ในใบมีตัวยามากที่สุด วีธีการเก็บใช้วิธีเด็ด ตัวอย่างเช่น กระเพรา ขลู่ ฝรั่ง 
    ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น
  3. ประเภทเปลือกต้นและเปลือกราก  เปลือกต้นโดยมากเก็บระหว่างช่วงฤดูร้อนต่อกับ
    ฤดูฝน ปริมาณยาในพืชสูงและลอกออกง่าย สำหรับการลอกเปลือกต้นนั้น อย่าลอกเปลือก
    ออกทั้งรอบต้น เพราะกระทบกระเทือนในการส่งลำเลียงอาหารของพืช อาจทำให้ตายได้ 
    ทางที่ดีควรลอกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อย ไม่ควรลอกจากลำต้นใหญ่ของต้นไม้ หรือจะใช้
    วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนเปลือกราก เก็บในช่วงต้นฤดูฝนเหมาะที่สุด 
    เนื่องจากการลอกเปลือกต้นหรือเปลือกรากเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช ควรสน
    ใจวิธีการเก็บที่เหมาะสม
  4. ประเภทดอก  โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู 
    เป็นต้น
  5. ประเภทผลและเมล็ด  พืชสมุนไพรบางอย่างอาจเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุกก็มี เช่น ฝรั่ง 
    เก็บผลอ่อน ใช้แก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้ว ตัวอย่างเช่น มะแว้งต้น 
    มะแว้งเครือ ดีปลี เมล็ดฟักทอง เมล็ดชุมเห็ดไทย เมล็ดสะแก เป็นต้น
          นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ตามการถ่ายทอดประสบการณ์ของแพทย์ไทยโบราณนั้น ยังมีการ
เก็บยาตามฤดูกาล วัน โมงยาม และทิศอีกด้วย เช่น ใบควรเก็บในตอนเช้าวันอังคาร ฤดูฝนทาง
ทิศตะวันออก เป็นต้น อย่างไรก็ตามในที่นี้ขอแนะนำให้ใช้หลักการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยาสมุนไพร
ข้างต้น นอกจากนี้ท่านผู้ศึกษาการเก็บและการใช้สมุนไพร สามารถเรียนรู้ได้จากหมอพื้นบ้าน
ที่อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งมีประสบการณ์เก็บยาและการใช้ยามาเป็นเวลาช้านาน
          วิธีการเก็บสมุนไพรที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น โดยทั่วไปไม่มีอะไรสลับซับซ้อน ประเภทใบ 
ดอก ผล ใช้วิธีเด็ดแบบธรรมดา ส่วนแบบราก หัว หรือเก็บทั้งต้น ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง เพื่อประกัน
ให้ได้ส่วนที่เป็นยามากที่สุด สำหรับเปลือกต้นหรือเปลือกราก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
ของต้นพืช ดังนั้นจึงควรสนใจวิธีการเก็บดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
          คุณภาพของยาสมุนไพรจะใช้รักษาโรคได้ดีหรือไม่นั้น ที่สำคัญอยู่ที่ช่วงเวลาการเก็บ
สมุนไพร และวิธีการเก็บ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ยังต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือ พื้นที่ปลูก เช่น ลำโพง 
ควรปลูกในพื้นดินที่เป็นด่าง ปริมาณของตัวยาจะสูง สะระแหน่หากปลูกในที่ดินทราย ปริมาณน้ำ
มันหอมระเหยจะสูง และยังมีปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต ภูมิอากาศ เป็นต้น 
ต่างก็มีผลต่อคุณภาพสมุนไพรทั้งนั้น ดังนั้นเราควรพิจารณาหาข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนที่
จะเก็บยาสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค
ที่มา:http://www.rspg.or.th/

การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร

การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร
          หลักการทั่วไปของการปลูกและบำรุงรักษาพืชทั่วไปและพืชสมุนไพร ไม่แตกต่างกัน แต่
ความอุดมสมบูรณ์ของพืชสมุนไพร จะเป็นเครื่องชี้บอกคุณภาพของสมุนไพรได้ พืชสมุนไพร
ต้องการการปลูกและบำรุงรักษาใกล้เคียงกับลักษณะธรราชาติของพืชสมุนไพรนั้นมากที่สุด เช่น 
ว่านหางจระเข้ ต้องการดินปนทราย และอุดมสมบูรณ์ แดดพอเหมาะ หรือต้นเหงือกปลาหมอ
ชอบขึ้นในที่ดินเป็นเลน และที่ดินกร่อยชุ่มชื้นเป็นต้น หากผู้ปลูกสมุนไพรเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะ
ทำให้สามารถเลือกวิธีปลูกและจัดสภาพแวดล้อมของต้นไม้ได้เหมาะกับพืชสมุนไพรก็จะเจริญ
เติบโตได้ เป็นผลทำให้คุณภาพพืชสมุนไพรที่นำมารักษาโรคมีฤทธิ์ดีขึ้นด้วย
          การปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย 
ไม่จริงจังเท่าที่ควร บางประเทศได้ทดลองเพื่อหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะทำให้
สาระสำคัญในพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ มากที่สุด ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน 
หรือการหาคำตอบว่าวิธีการขยายพันธุ์พืชสมุนไพรแต่ละชนิด จะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสม
และประหยัดมากที่สุด ในประเทศไทย หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีงานวิจัยด้าน
นี้อยู่บ้างและกำลังค้นคว้าต่อไป
          การปลูก  เป็นการนำเอาส่วนของพืช เช่น เมล็ด กิ่ง หัว ผ่านการเพาะหรือการชำ หรือวิธี
การอื่นๆ ใส่ลงในดิน หรือวัสดุอื่นเพื่องอกหรือเจริญเติบโตต่อไป การปลูกทำได้หลายวิธีคือ
  1. การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง  วิธีนี้ไม่ต้องเพาะเป็นต้นกล้าก่อน นำเมล็ดมาหว่านลง
    แปลงได้เลย หลังจากนั้นใช้ดินร่วนหรือทรายหยาบโรยทับบางๆ รดน้ำให้ชื้นตลอดทุกวัน 
    เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนจึงถอนต้นที่อ่อนแอออกเพื่อให้มีระยะห่างตามสมควรปกติมักใช้
    ในการปลูกผักหรือพืชล้มลุกและพืชอายุสั้น เช่น กะเพรา โหระพา ส่วนการหยอดลงหลุม
    โดยตรงมักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ เช่น ฟักทอง ละหุ่ง โดยหยอดในแต่ละหลุมมากว่าจำนวน
    ต้อนที่ต้องการ แล้วถอนออกภายหลัง
  2. การปลูกด้วยต้นกล้าหรือกิ่งชำ  ปลูกโดยการนำเมล็ด หรือกิ่งชำปลูกให้แข็งแรงดีใน
    ถุงพลาสติกหรือในกระถาง แล้วย้ายปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ การย้ายต้นอ่อนจากภาชนะ
    เดิมไปยังพื้นที่ที่ต้องการ ต้องไม่ทำลายราก ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็ใช้มีดกรีดถุงออก
    ถ้าเป็นกระถาง ถอดกระถางออกโดยใช้มือดันรูกลมที่ก้นกระถาง ถ้าดินแน่นมากให้ใช้เสียม
    เซาะดินแล้วใช้น้ำหล่อก่อน จะทำให้ถอนง่ายขึ้น  หลุมที่เตรียมปลูกควรกว้างกว่ากระถางหรือ
    ถุงพลาสติกเล็กน้อย  จึงทำให้ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้สะดวก วางต้นไม้ให้ระดับรอยต่อ
    ระหว่างลำต้นกับรากอยู่เสมอกับระดับของขอบหลุมพอดี แล้วกลบด้วยดินร่วนซุย หรือดิน
    ร่วนปนทราย  กดดินให้แน่นพอประมาณ นำเศษไม้ใบหญ้ามาคลุมไว้รอบโคนต้นเพื่อ
    รักษาความชุ่มชื้นและป้องกันแรงกระแทกเวลารดน้ำ หาไม้หลัก ซึ่งสูงมากกว่าต้นไม้มา
    ปักไว้ข้างๆ ผูกเชือกยึดกับต้นไม้ คอยพยุงมให้ต้นไม้ล้มหรือโยกคลอนได้ ปกติใช้กับต้น
    ไม้ยืนต้น เช่น คูน แคบ้าน ชุมเห็ดเทศ สะแก ขี้เหล็ก เป็นต้น หรือใช้กับพันธุ์ไม้ที่งอก
    ยากหรือมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องเพาะเมล็ดก่อน
  3. การปลูกด้วยหัว  ปกติจะมีหัวที่เกิดจากราก และลำต้น เรียกชื่อแตกต่างกัน ในที่นี้จะรวม
    เรียกเป็นหัวหมด โดยไม่แยกรายละเอียดไว้ สำหรับการปลูกไม้ประเภทหัว ควรปลูกใน
    ที่ระบายน้ำได้ดี มิฉะนั้นจะเน่าได้  การปลูกโดยการฝังหัวให้ลึกพอประมาณ (ปกติลึกไม่เกิน 
    3 เท่าของความกว้างหัว) กดดินให้แน่นพอสมควรคลุมแปลงปลูกด้วยฟาง หรือหญ้าแห้ง 
    เช่น การปลูกหอม กระเทียม
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร

การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
          การขยายพันธุ์  คือ การสืบพันธุ์ของต้นไม้โดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการเพาะเมล็ด การแตกหน่อ 
แตกตา ใช้ไหล หรือเง่าของพืช การขยายพันธุ์พืชทำให้เพิ่มจำนวนของพืชมากขึ้น การขยายพันธุ์
พืชสมุนไพร แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
  1. การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ  คือการนำเมล็ดที่เกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้
    และเกสรตัวเมีย ไปเพาะเป็นต้นกล้าให้เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ต่อไป ซึ่งลักษณะต้นใหม่ที่
    เกิดขึ้นอาจจะมีลักษณะที่ดีกว่าเดิมหรือเลวกว่าเดิมก็ได้
         วิธีการขยายพันธุ์พืชโดยวิธีนี้ มีข้อดีคือ พืชมีรากแก้ว เป็นวิธีที่เหมาะแก่การขยายพันธุ์พืช
    จำนวนมาก มีวิธีการและขั้นตอนไม่มากนัก แต่มีข้อเสียที่กลายพันธุ์ได้ ต้นใหญ่ และกวา
    จะออกผลต้องใช้เวลานาน พืชสมุนไพรหลายชนิดเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้  เช่น คูน ยอ และฟ้า
    ทะลายโจร วิธีการที่สะดวกและนิยมกันมาก คือการเพาะใส่กระถางหรือถุงพลาสติก วัสดุที่ใช้
    คือ ขี้เถ้าแกลบดำ ทรายหยาบ หรือดินปนทราย แต่ที่เหมาะที่สุดคือขี้เถ้าแกลบดำ เพราะ
    ขี้เถ้าแกลบดำไม่จับตัวแข็ง ร่วนซุย โปร่ง ระบายน้ำได้ดี แดดส่องสะดวก ถุงพลาสติกที่ใช้
    ต้องเจาะรูให้น้ำไหลได้ วิธีทำโดยใส่ถ่านแกลบลงในถุงพลาสติก เสร็จแล้วล้างถ่านแกลบ
    ด้วยน้ำเพื่อให้หมดด่างเสียก่อน ถ้าหากไม่ใช้ถ่านแกลบดำ จะใช้ดินร่วนปนทราย โดยใช้
    ดินร่วน 2 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอกแห้งป่นละเอียด 1 ส่วน เอามาผสมให้
    เข้ากันดี หยอดเมล็ดให้ลึกพอประมาณ 2-3 เมล็ด (ถ้าเมล็ดใหญ่ใช้ 1 เมล็ด) ดูอย่า
    ให้แดดจัด รดน้ำพอประมาณวันละครั้ง อย่าให้น้ำขัง เมล็ดจะเน่า เมื่อเมล็ดงอกแล้ว
    ให้ถูกแดดบ้าง เมื่อต้นเจริญเติบโตพอควรก็แยกไปปลูกในที่ที่ต้องการได้
  2. การขยายพืชโดยไม่อาศัยเพศ  คือการขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช 
    เช่น กิ่ง หน่อ หัว ใบ เหง้า ไหล เป็นต้น โดยนำไปชำ ตอน แบ่งแยก ติดตา เพาะเลี้ยง
    เนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ให้เกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้
         ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศ  คือไม่กลายพันธุ์ สะดวกต่อการดูแล
    รักษา ได้ผลเร็ว และสามารถขยายพันธุ์พืชที่ยังไม่มีเมล็ดหรือไม่สามารถมีเมล็ดได้ แต่มีข้อ
    เสียคือ ไม่มีรากแก้ว บางวิธีขยายพันธุ์ได้คราวละไม่มาก ต้องใช้เทคนิคและความรู้ช่วยบ้าง 
    เช่น การตอน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
    วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะวิธีที่ใช้บ่อย 
    และนำไปเลือกใช้กับการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ที่จะแนะนำต่อไปได้ ส่วนวิธีการอื่น 
    หากสนใจ สามารถศึกษาได้จากตำราวิชาการด้านการเกษตร
    2.1  การแยกหน่อ หรือ กอ  พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น กระชาย กล้วย ตะไคร้ ขิงข่า เตย 
    ว่านหางจระเข้ ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อหรือกอ ทำได้โดยก่อนแยกหน่อ จะต้องเลือก
    หน่อที่แข็งแรง มีใบ 2-3 ใบ ใช้น้ำรดให้ทั่วเพื่อให้ดินนุ่ม ขุดแยกออกมาอย่างระมัดระวัง 
    อย่าให้หน่อช้ำ เมื่อตัดออกมาแล้ว เอาดินกลบโคนต้นแม่ให้เรียบร้อย นำหน่อที่แยกตัดราก
    ที่ช้ำ หรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วนำไปปลูกลงในกระถางหรือดินที่เตรียมไว้  กดดิน
    ให้แน่น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เก็บไว้ในที่ร่ม ถ้าปลูกลงแปลงก็บังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะ
    แข็งแรง ดูแลอย่าให้น้ำขัง
    2.2  การปักชำ  พืชสมุนไพร เช่น หญ้าหนวดแมว ขลู่ ดีปลี ปักชำได้ง่าย โดย
    ใช้ลำต้นหรือกิ่ง โดยเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใช้มีดหรือกรรไกร
    ที่คม ตัดเฉียงโดยให้กิ่งชำมีตาติดอยู่สัก 3-4 ตา ตัดแล้วริดใบออก ให้เหลือใบแต่น้อย 
    ใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดกันเชื้อรา นำไปปักลงบนกระบะที่บรรจุถ่านแกลบดำ หรือดินร่วนปนทราย 
    ผสมแบบเดียวกับการเพาะเมล็ด การปัก ให้ปักตรงๆ ลงไปในดิน ไม้ใหญ่ปักห่างกันหน่อย 
    ไม้เล็กปักถี่หน่อย กลบดินให้แน่น ไม่ให้โยกคลอน การรดน้ำให้สม่ำเสมอ และอย่าให้แฉะ 
    และอย่ารดน้ำแรง จะทำให้กิ่งโยกคลอน เมื่อรากแตกและมีใบเจริญขึ้น ก็ย้ายไปปลูกในที่ที่
    เตรียมดินไว้
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน

 
การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน
          การปรับปรุงดินโดยทั่วไป พืชแต่ละชนิดต้องการลักษณะของดินในการเจริญเติบโตไม่
เหมือนกัน พืชบางชนิดชอบดินที่ดอน แต่พืชบางชนิดชอบดินที่มีน้ำขัง การปรับปรุงดินให้
เหมาะกับพืชแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วการปรับปรุงดินทำได้ดังนี้คือ
  1. การปรับปรุงดินในที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นบางฤดู ถ้าต้องการจะปลูกพืชไร่ ทำได้ 2 วิธีคือ
    1. ขุดคูทำคันดินรอบบริเวณที่ต้องการปลูกพืช เมื่อฝนตกน้ำท่วมก็สูบน้ำออก โดยสูบน้ำ
    ให้ได้ระดับน้ำต่ำกว่าผิวดินมากๆ ก็สามารถปลูกพืชไร่ได้ตามต้องการ เช่น ที่บริเวณเกษตร
    กลางบางเขน
    2.  ถมดินให้สูงขึ้นกว่าระดับน้ำ แล้วปลูกพืชที่ต้องการ เช่น ตามริมถนน มักจะถมดินให้สูง
    ขึ้นเพื่อปลูกต้นไม้ริมทาง แต่การถมดินนั้นควรถมให้กว้าง ถ้าถมให้สูงเฉพาะตรงต้นไม้ 
    ดินจะรับน้ำที่รดไว้ไม่พอกับปริมาณที่ต้นไม้ต้องการ
  2. การปรับปรุงดินที่มีน้ำใต้ดินสูง  ทำให้ได้การฝังท่อระบายน้ำซึ่งท่อระบายน้ำนี้จะต้องทำ
    ด้วยดินเผา ตรงหัวต่อของท่อกลบด้วยทรายหยาบเพื่อทำให้น้ำซึมผ่านได้สะดวก ท่อระบาย
    น้ำที่ฝังลงไปลึกให้พ้นจากเขตไถพรวน และจะต้องวางท่อให้ห่างกันพอเหมาะ โดยดินทรายวาง
    ให้ห่างๆ กันได้ แต่ถ้าเป็นดินเนื้อละเอียด จะต้องวางท่อให้ถี่เข้า  เมื่อน้ำระบายออกจากท่อลง
    ในลำคลองหรือร่องน้ำ แล้วสูบออก เช่น ในประเทศฮอลแลนด์เขาสูบน้ำโดยใช้กังหันลม
  3. ดินเปรี้ยวหรือดินกรด  ดินโดยทั่วไปมักจะเป็นดินกรดอ่อนๆ แต่มีบางแห่งที่เป็นกรดจัดมาก 
    จนปลูกพืชอะไรไม่ขึ้น ดินกรดนี้เกิดจากเหตุดังนี้คือ
    1.  เกิดจากหิน หรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
    2.  เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์
    3.  เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด  ปรับปรุงแก้ไขได้โดยการใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ล  แต่จะ
    ใส่มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความเป็นกรดของดิน เนื้อดินและอินทรีย์วัตถุในดิน แต่โดยทั่วๆ 
    ไปแล้ว การใส่ปูนขาวประมาณ 200 ก.ก. ต่อไร่
  4. ดินหวานหรือดินด่าง  คือดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง ซึ่งโดยทั่วไปดินเป็นด่างมักไม่ค่อยพบ
    นอกจากบางแถบของโลก  ในเมืองไทยมักพบบ้างแถบภูเขาหินปูน จังหวัดลพบุรี หรือสระบุรี

 ดินด่างเกิดจากเหตุ 2 ประการคือ
          1.  เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน
          2.  เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด การปรับปรุงแก้ไขดินด่างโดยทั่วไป มักแก้โดยใส่กำ
มะถันผง แล้วทิ้งไว้ 3-4 อาทิตย์ ใส่กำมะถันปริมาณมากน้อยแค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับความชื้น 
ของดินอินทรีย์วัตถุในดินและเนื้อของดิน
  1. ดินเค็ม  คือดินที่มีเกลือแกงปะปนอยู่ในดินเป็นปริมาณมากจนทำให้เกลือแกงเป็นพิษกับ
    ต้นพืชบางชนิด ดินเค็มนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุ 3 ประการคือ
    1.  เกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดิน เช่น ดินทางภาคอีสาน
    2.  เกิดจากเกลือแกงเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น โดยลมพัดเอาไอเกลือมา เช่น 
    ดินแถบชายทะเล หรือน้ำพัดพามา เช่นบางแห่งแถบชายทะเล
    3.  เกิดจากการใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิดเป็นเวลานานๆ แต่มีน้อยมาก การแก้ไขปรับปรุงดินเค็ม
    นั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของการเกิด ถ้าดินเค็มนั้นเกิดจากหินหรือแร่ที่ให้กำเนิดแก่ดินเกลือ 
    มักจะสะสมอยู่ใต้ดินลึกๆ บางแห่งคือ 1,000 - 3,000 เมตร เช่นที่เมืองออสเตรีย 
    ถ้าลึกขนาดนี้ เกลือไม่ขึ้นมาบนผิวดิน มีบางแห่งลึกเพียง 50-60 เมตร เช่น 
    ดินเค็มทางภาคอีสาน เกลือจะละลายน้ำและขึ้นมากับน้ำที่ระเหยไปในอากาศ
    วิธีแก้ไขปรับปรุงดินเค็มชนิดนี้ก็คือ กันไม่ให้น้ำพาเกลือขึ้นมา อาจจะโดยวิธีใดก็ได้ 
    ดินเค็มที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายมาจากที่อื่นหรือเกิดจากปุ๋ยเคมีบางชนิด แก้ไข
    ปรับปรุงโดยเอาน้ำจืดชะล้างหรือโดยการปลูกพืชบางชนิดที่สามารถดูดเกลือเข้าไปเป็น
    ปริมาณมากๆ แล้วตัดต้นพืชนั้นออกไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งที่อื่น เช่น การแก้ดินเค็มของ
    ประเทศฮอลแลนด์ อย่างนี้เป็นต้น
  2. ดินจืด  คือดินที่ปลูกอะไรไม่ขึ้น เนื่องจากอาหารธาตุที่สำคัญของพืชในดินหมดไปจากดิน 
    เช่น ที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง เมื่อปลูกมันสำปะหลังไปนานๆ แล้วปลูกพืชชนิดอื่นไม่ขึ้น 
    มีทางแก้ไขให้ดินจืดนั้นกลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก หรือไม่
    ก็เสียเวลานานมากด้วย  โดยทั่วไปแล้วการปล่อยให้ดินจืดแล้วจึงแก้ทีหลังนั้นไม่ถูกวิธี 
    ทางที่ถูกวิธีนั้นก็คือ ควรปลูกพืชบำรุงดินสลับกับการปลูกมันสำปะหลัง แต่ถึงอย่างไร
    การแก้ไขทำได้ดังนี้คือ
    1.  แก้ไขปรับปรุงโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้นว่าโรยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ย กทม. จะต้องใส่ถึง 
    12 ตันต่อไร่ พร้อมด้วยการเพิ่มปุ๋ยเคมีที่มีโปรแตสสูงๆ เข้าไปด้วย
    2.  แก้ไขปรับปรุงโดยการปลูกพืชพวกตระกูลถั่ว อาจเป็นต้นก้ามปู ปลูกให้ถี่ๆ 
    เพื่อทำให้ต้นก้ามปูตั้งตรงสูง ทิ้งไว้ 10-20 ปี เมื่อตัดต้นก้ามปูไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว 
    จึงหันมาปลูกมันสำปะหลังใหม่
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มยาแก้ อาเจียน กะเพรา

กลุ่มยาแก้อาเจียน
กะเพรา
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Osmium sanctum  L.
ชื่อพ้อง : Ocimum tenuousness  L.
ชื่อสามัญ :  Holy basil,  Sacred Basil
วงศ์ :   Lamiaceae (Labiatae)
ชื่ออื่น  กะเพราขน กะเพราขาว กะเพรา (ภาคกลาง) กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่) อีตู่ไทย 
(ภาคอีสาน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 30-60 ซม. โคนต้นค่อนข้างแข็ง กะเพราแดงลำต้น
สีแดงอมเขียว ส่วนกะเพราขาวลำต้นสีเขียวอมขาว ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออก
ตรงข้ามกัน รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบจัก
เป็นฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียว มีขนสีขาว ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมี
จำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก 
ปากบนมี 4 แฉก ปากล่างมี 1 แฉก ปากล่างยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล
เป็นผลแห้ง เมื่อแตกออกจะมีเมล็ด สีดำ รูปไข่
ส่วนที่ใช้ : 
ใบ และยอดกะเพราแดง ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น
สรรพคุณ :แก้อาเจียน
  1. แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
  2. ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง
  3. แก้ไอและขับเหงื่อ
  4. ขับพยาธิ
  5. ขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด
  6. ลดไข้
  7. เป็นยาอายุวัฒนะ
  8. เป็นยารักษาหูด กลากเกลื้อน ต้านเชื้อรา
  9. เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง
  10. เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง
       วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ)
    อาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
    ใช้กะเพราทั้ง 5 ทั้งสด หรือ แห้ง ชงน้ำดื่ม รับประทาน
    เด็กอ่อน ใช้ใบสด 3-4 ใบ
    ผู้ใหญ่ ใบแห้ง 1 กำมือ, 4 กรัม ผงแห้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 2 ช้อนแกง ใบสด 25 กรัม
    ภายนอก เด็กอ่อน ใบสด 10 ใบ
          วิธีใช้ :
          ยาภายใน
          เด็กอ่อน - ใช้ใบสด ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อน
          เพิ่งคลอด 2-3 หยด เป็นเวลา 2-3 วัน   จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา
          ผู้ใหญ่ - ใช้ใบกะเพราแห้ง ชงกับน้ำดื่ม เป็นยาขับลม ถ้าป่นเป็นผง ให้ชงกับน้ำรับประ
          คนโบราณใช้ใบกะเพราสดแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน ช่วยขับลม บำรุงธาตุ
          ยายภายนอก
          ใช้ใบสดทาบริเวณท้องเด็กอ่อน จะลดอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อได้
          กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และ กะเพราแดง  กะเพราแดงมีฤทธิ์แรงกว่ากะเพราขาว 
          ในทางยานิยมใช้กะเพราแดง      แต่ถ้าประกอบอาหารมักใช้กะเพราขาว
  • ยาเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด
    ใช้ใบกะเพราสด 1 กำมือ แกงเลียงรับประทานบ่อยๆ หลังคลอดใหม่ๆ
  • เป็นยารักษากลากเกลื้อน
    ใช้ใบสด 15-20 ใบ ตำหรือขยี้ให้น้ำออกมา ใช้ทาถูตรงบริเวณที่เป็นกลาก ทาน
    วันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  • เป็นยารักษาหูด
    ใช้ใบกะเพราแดงสด ขยี้ทาตรงหัวหูด เข้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุด
         ข้อควรระวัง :
          น้ำยางที่ใช้สำหรับกัดหูดนี้เป็นพิษมาก ดังนั้นควรใช้ด้วยความระวัง
          - อย่าให้เข้าตา
          - ให้กัดเฉพาะตรงที่เป็นหูด อย่าให้ยางถูกเนื้อดี ถ้าถูกเนื้อดี เนื้อดีจะเน่าเปื่อย 
          ซึ่งรักษาให้หายได้ยาก
  • เป็นยาสมุนไพร ใช้ไล่หรือฆ่ายุง
    ใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด 1 กิ่งใหญ่ ๆ เอาใบมารขยี้ แล้ววางไว้ใกล้ๆ ตัว จะช่วยไล่ยุงได้ 
    และยังสามารถไล่แมลงได้ด้วย น้ำมันกะเพรา เอาใบสดมากลั่น จะได้น้ำมันกะเพรา 
    ซึ่งมีคุณสมบัติไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสดๆ
  • เป็นสมุนไพรไล่แมลงวันทอง
    ใช้น้ำมันที่กลั่นจากใบสด ตามความเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยนี้ไปล่อแมลง 
    จะทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้
    ที่มา:http://www.rspg.or.th

กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ กฤษณา

กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ
กฤษณา
 
       ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Aquilaria crassna  Pierre ex Lecomte
      ชื่อสามัญ :   Eagle wood
      วงศ์ :   Thymelaeaceae
      ชื่ออื่น  ไม้หอม (ภาคตะวันออก)
      ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 18-30 เมตร เปลือกสีเทา แตกเป็นร่องยาวตื้นๆ ตามกิ่ง
 อ่อนมีขนสีขาวปกคลุมใบ 
เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. โคนใบมน ปลายใบเป็นติ่งแหลม แผ่น
ใบค่อนข้างหนา เรียบ
เกลี้ยง สีเขียว มีขนประปรายตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 0.2-0.7 ซม. ดอก ออกเป็น
ช่อตามซอกใบ 
ดอกสีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ติดทน กลีบดอก 5 กลีบ 
เกสรเพศผู้มี 10 อัน 
ผล รูปกลมรี มีเส้นแคบตามยาวของผล ผิวขรุขระเป็นลายสีเขียว มีขนละเอียดสั้นคล้ายกำมะหยี่ พอแก่
แตกอ้าออก 
เมล็ดกลมรี สีน้ำตาลเข้ม มี 1-2 เมล็ด  
      ส่วนที่ใช้ :  
เนื้อไม้  แก่น  และชัน
        สรรพคุณ :แก้อ่อนเพลีย
  • นื้อไม้  
    - รสขม หอม เป็นยาบำรุงหัวใจ (คือมีอาการหน้าเขียวตาเขียว)
    - ช่วยตับ ปอด ให้เป็นปกติ แพทย์ตามชนบทใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลมหน้ามืดวิงเวียน ผสมเครื่อง
    หอมทุกชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม เช่น ธูปหอม น้ำอบไทย
    - สุมศีรษะ แก้ลมทรางสำหรับเด็ก รับประทานให้ชุ่มชื่นหัวใจ กฤษณาชนิด 
    Aguilar
     allocations
    ใช้เนื้อไม้เป็นยารักษาโรค  ปวดข้อ 

  • น้ำมันจากเมล็ด - รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนังได้
          วิธีใช้ :
          เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ รวมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น เกษรทั้ง 5 และอื่นๆ
          ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน แคดอกขาว แคดอกแดง

กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน
แคดอกขาว แคดอกแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Sesbania grandiflora  (L.) Desv.
ชื่อสามัญ :   Agasta, Sesban, Vegetable humming bird
วงศ์ :   Leguminous  
ชื่ออื่น  แค แคบ้านดอกแดง แคขาว (ภาคกลาง) แคแดง (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาล
ปนเทา ขรุขระ 
แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม.  
ยาว 3-4 ซม. 
ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ  สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก 
ดอกสีขาวหรือแดง 
มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ด
กลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : 
เปลือกต้น  ดอก  ใบสด  ยอดอ่อน
สรรพคุณ :ลดความร้อน
  • เปลือก  - ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
    - แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    - ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล
  • ดอก,ใบ - รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
    ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก 
    และทำให้มีน้ำมูกออกมา 
    แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
  • ใบสด 
    - รับประทานใบแคทำให้ระบาย
    - ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
    ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
  • แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
    - ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทาน
    แก้ปวดศีรษะข้างเดียว
    - ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 
    3-7 วัน จะได้ผล
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ จิก

กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ
จิก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Burlington acutangula (L.) Garetn.
ชื่อสามัญ :   Indian oak
วงศ์ :   Barringtoniaceae
ชื่ออื่น  กระโดนทุ่ง กระโดนน้ำ(หนองคาย), จิกนา(ภาคใต้), ตอง(ภาคเหนือ), มุ่ยลาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้น เป็นปุ่มปมและเป็นพู ผลัดใบ ชอบขึ้น
ริมน้ำ ใบ เดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ผิวใบมัน ใบออกสลับถี่ตามปลายยอด รูปใบยาว
เหมือนรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ใบยาว 30 เซนติเมตร ขอบใบจักถี่ ก้นใบสีแดง สั้นมาก
 ดอก ช่อ สีแดงห้อยลง บานจากโคนลงไปทางปลาย ช่อดอกยาว 30-40 เซนติเมตร กลีบ
เลี้ยง 4 กลีบ และจะคงติดอยู่จนเป็นผล เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก มีสีชมพูถึงสีแดง ผล ยาว
รีเป็นเหลี่ยม มีสันตามยาวของผล 4 สัน ผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
ส่วนที่ใช้ :  
ราก น้ำจากใบ เปลือก ผล
สรรพคุณ :ขับเสมหะ
  • ราก - ยาระบายอ่อน ๆ และใช้แทนควินินได้
  • น้ำจากใบ  - แก้ท้องเสีย
  • เปลือก  - ทาแก้แมลงกัดต่อย พอกแผล
  • ผล  - แก้ไอ ขับเสมหะ       - แก้หวัด หืด
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ กระทือ

กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ กระทือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Zinger zerumbet  (L.) Smith.
วงศ์ :   Liberace
ชื่ออื่น  กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก ลำต้นเหนือดินกลม สูง 0.9-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน 
ต้นโทรมในหน้าแล้งแล้วงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน 
รูปรูยาว กว้าง 5-7.5 ซม. ยาว 20-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ 
สีเขียว ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้าขึ้นมา ช่อดอกรูปทรงกระบอก 
มีใบประดับสีเขียวแกมแดง เรียงซ้อนกันแน่นเป็นระเบียบ ดอกสีเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด 
ดอกบานไม่พร้อมกัน ผล แบบผลแห้งแตก รูปทรงค่อนข้างกลม สีแดง เมล็ดสีดำ
ส่วนที่ใช้ ราก เหง้า ต้น ใบ ดอก หัว หรือ เหง้าแก่สด  เก็บใบช่วงฤดูแล้ง
สรรพคุณ :แก้ท้องร่วง
  • ราก  - แก้ไข้ตัวเย็น แก้ไข้ต่างๆ แก้ไข้ตัวร้อน แก้เคล็ดขัดยอก
  • เหง้า
    - บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิด บิดป่วงเบ่ง
    - แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ขับผายลม ขับปัสสาวะ
    - แก้จุกเสียด แก้เสมหะเป็นพิษ
    - ขับน้ำย่อย เจริญอาหาร
    - เป็นยาบำรุงกำลัง
    - แก้ฝี
  • ต้น
    - แก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้รับประทานอาหารมีรส
    - แก้ไข้
  • ใบ
    - ขับเลือดเน่าร้ายในเรือนไฟ
    - แก้เบาเป็นโลหิต
  • ดอก
    - แก้ไข้เรื้อรัง
    - ผอมแห้ง ผอมเหลือง
    - บำรุงธาตุ แก้ลม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และปวดท้อง บิดโดยใช้หัวหรือเหง้า
    กระทือสด ขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุก 
    ตำกับน้ำปูนใสครึ่งแก้ว คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ
    บางท้องถิ่นใช้หัวกระทือประกอบอาหาร เนื้อในมีรสขมและขื่นเล็กน้อย ต้องหั่นแล้วขยำกับ
    น้ำเกลือนานๆ
    กระทือเป็นพืชที่มีสารอาหารน้อย

    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ กานพลู

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
กานพลู
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Synergism aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง :  Caryophyllus aromatica  L. ; Eugenia aromatica  (L.) Baill; E.Caryophylla(Spreng.) 

Bullock et Harrison;  E.caryophyllata Thunb.
ชื่อสามัญ :   Clove Tree
วงศ์ :   Myrtaceae
ชื่ออื่น  -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวย
คว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่
กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ 
แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้น
ถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 
5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 
4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. 
ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. 
มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. 
ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด
          กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก 
ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง 
ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร
ส่วนที่ใช้ :  เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ
สรรพคุณ :แก้ปวดท้อง
  • เปลือกต้น  -  แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ 
  • ใบ -  แก้ปวดมวน
  • ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น
    ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก 
    รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ 
    แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ 
    บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น 
    แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
  • ผล -  ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
  • น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม 
    เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
         วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  • แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง
    ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม
    ในผู้ใหญ่  - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
    ในเด็ก -  ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม
    เด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
  • ยาแก้ปวดฟัน
    ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มใน
    รูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้
    หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกาน
    พลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
  • ระงับกลิ่นปาก
    ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มยาถ่าย กาฬพฤกษ์

กลุ่มยาถ่าย
กาฬพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cassia gran dis  L.f.
ชื่อสามัญ :    Pink Shower , Horse cassia
วงศ์ :   LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็น
ร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 10-20 คู่ 
ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน 
ด้านล่างมีขน ดอก เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ระยะออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - 
มีนาคม ผล เป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนา
แข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง 2 ข้าง ขนาดกว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. 
เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน 20-40 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก  เปลือก เมล็ด
สรรพคุณ :เป็นยาถ่าย
  • เนื้อในฝัก  -  ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ
    ขนาดรับประทาน - รับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม ไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความ

    แรงสู้คูนไม่ได้  
  • เปลือก และ เมล็ด  - รับประทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้ได้ดี
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ แก้ว

กลุ่มยาถ่ายพยาธิ
แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Murray paniculata  (L.) Jack.
ชื่อสามัญ :   Andaman satin wood, Chinese box tree, Orange jasmine
วงศ์ :    RUTACEAE
ชื่ออื่น  กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี) แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) แก้วพริก ตะไหลแก้ว 
(ภาคเหนือ) แก้วลาย (สระบุรี) จ๊าพริก (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ผลัดใบ ใบ เป็นใบประกอบ 
ผิวใบมันเข้ม และเป็นมันทั้งสองด้าน ดอก ช่อ ออกเป็นกระจุก สีขาว ร่วงง่าย มีกลิ่นหอมมาก ผล 
สดกลมรี หรือรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ที่เปลือกมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด กว้าง 5-8 มม. ยาว 0.8-1 
ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีส้มแดง เมล็ดรูปไข่ปลายสอบ มีขนสั้นๆ อยู่รอบเมล็ด กว้าง 4-6 มม. 

ยาว 6-9 มม. สีขาวขุ่น มีจำนวน 1-2 เมล็ดต่อผ
ส่วนที่ใช้ 
 
  • ก้านและใบ - เก็บได้ตลอดปี ใช้สดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้
  • ราก - เก็บในฤดูหนาว เอาดินออกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่น ตากแห้งเก็บไว้ใช้
  • ใบ ดอก และผลสุก
สรรพคุณ :เป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ก้านและ  - รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น แก้แผลเจ็บ
    ปวดเกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟัน  
  • ราก -  รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้น และที่เกิดจากแมลงกัดต่อย
  • ใบ -  ขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย 
  • ราก, ใบ - เป็นยาขับประจำเดือน 
  • ดอก, ใบ -  ช่วยย่อย แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศีรษะ
  • ผลสุก -  รับประทานเป็นอาหารได้
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
  1. ใช้ภายใน รับประทานขับพยาธิตัวตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย- ใช้ก้านและใบสด 10-15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทาน
    วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
    -  หรือใช้ดองเหล้า ดื่มแต่เหล้า ครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
    -  ใช้รากแห้ง 10-15 กรัม (สด 30-60 กรัม) ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว 
    รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า-เย็น
  2. ใช้ภายนอก
    -  ใช้ก้านและใบสด ตำพอก หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น
    -  ใช้ใบแห้งบดเป็นผงใส่บาดแผล
    -  รากแห้งหรือสด ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
    -  ใบและก้านสด สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50 
    ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ กระดังงาไทย

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ

กระดังงาไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Canada odorata  Hook.f. & Thomson var. odorata
ชื่อสามัญ :   Ylang-ylang Tree
วงศ์ :   ANNONACEAE
ชื่ออื่น :  กระดังงา, กระดังงาใบใหญ่ , กระดังงาใหญ่, สะบันงา, สะบันงาต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-20 ม. มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจาย
อยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว 
ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนมีขนทั้ง 
2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ช่อดอกสั้น ออกห้อย
รวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ดอกใหญ่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ 
รูปสามเหลี่ยม มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบ
ขนานปลายแหลม มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่า
ชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว 
เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศ
เมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล 
แต่ละผลรูปไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด 
เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน
สรรพคุณ :บำรุงหัวใจ
  • ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน 
    ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม 
    ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
  • ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
  1. ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย
  2. การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจาก
    เทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำ
    ไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำ
    ไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ
    ที่มา:http://www.rspg.or.th/